หมวดหมู่: ผลงานทางวิชาการ

  • การจัดการเรียนรู้เชิงรุก พัฒนาศตวรรษที่ 21 ด้วย STEAM Design Process เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

    การจัดการเรียนรู้เชิงรุก พัฒนาศตวรรษที่ 21 ด้วย STEAM Design Process เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

    การจัดการเรียนรู้เชิงรุก พัฒนาศตวรรษที่ 21 ด้วย STEAM Design Process เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

    สุเมธ ราชประชุม น้ำฝน อินทร์แสง และ นพวรรณ ท่าเจ็ง1*

    1* โรงเรียนห้วยกรดวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท  จังหวัดชัยนาท
     *
    E-mail : huaikrot@huaikrot.ac.th

    บทสรุป

              โรงเรียนห้วยกรดวิทยา ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พัฒนาศตวรรษที่ 21 ด้วย STEAM Design Process  เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นกระบวนการที่มุ่งส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงและการทำงาน โดยมีกรบูรณาการองค์ความรู้ 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ หรือที่เรียกว่า สะเต็มศึกษา (STEM Education) และเพิ่มศิลปะ (Art) เพื่อช่วยให้เกิดการพัฒนาสมองทั้ง 2 ซีก (มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม, 2564) เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG มุ่งเน้นการอนุรักษ์ ฟื้นฟู จัดการ สู่การสร้าง Value Creation โดยเริ่มขับเคลื่อนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้มีการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานจากภายนอก

              โรงเรียนห้วยกรดวิทยามีการบริหารจัดการโรงเรียนเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พัฒนาศตวรรษที่ 21 ด้วย STEAM Design Process  เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG  ใช้รูปแบบการดำเนินงาน HKWS Model ในด้านการบริหารชุมชนและเครือข่าย เนื่องจากโรงเรียนห้วยกรดวิทยา เป็นโรงเรียนประจำตำบล ตั้งอยู่ในชุมชน มีการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน โดยจัดทำข้อมูลพื้นฐานและสภาพแวดล้อมของชุมชนและภาคีเครือข่าย ให้บริการแก่ชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนประสานและขอรับการสนับสนุนด้านต่าง ๆ จากชุมชน รวมทั้งประเมินผลตามความต้องการและความพึงพอใจของชุมชนเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแบบร่วมมือในการบริหารโรงเรียนด้วยเครือข่ายที่ยั่งยืนต่อไป

    ผลจากการจัดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พัฒนาศตวรรษที่ 21 ด้วย STEAM Design Process เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ทำให้โรงเรียนมีนวัตกรรมในการยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ การใช้กระบวนการ AAR และ PLC ในการส่งเสริมกระบวนการ STEAM Design Process และทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 บูรณาการการจัดการเรียนรู้และการวัดและประเมินผล เป็นการลดเวลา ลดภาระของทั้งครูและผู้เรียน จนสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานของตนเอง และนำไปต่อยอดในชีวิตได้ สอดคล้องกับเป้าหมายของหลักสูตร ได้แก่ มาตรฐานตัวชี้วัด คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ส่งผลให้โรงเรียน ผู้บริหาร ครูและนักเรียนได้รับรางวัลที่ภาคภูมิใจจากการดำเนินงานทั้งในระดับจังหวัด ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ

    ผลการดำเนินงาน

    การจัดการเรียนรู้เชิงรุก พัฒนาศตวรรษที่ 21 ด้วย STEAM Design Process เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG โดยใช้รูปแบบ HKWS Model เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่เน้น การจัดกระบวนการเชิงรุก Active Learning ตาม 7 หลักการสำคัญ ส่งผลให้ผู้เรียนมีความสุข เกิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีการคิดขั้นสูง มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีทักษะชีวิตและการทำงาน ครูผู้สอนมีการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดกิจกรรม เน้น Active Learning ได้แก่ คิด ร่วมมือ และเผยแพร่ (Think-pair-share) มากขึ้น ดังนี้

    ด้านการบริหารจัดการโรงเรียน โรงเรียนมีแนวทางในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พัฒนาศตวรรษที่ 21 ด้วย STEAM Design Process เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นต้นแบบในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในปีถัดไป และเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมสำหรับสถานศึกษาอื่น ๆ

    ด้านการบริหารชุมชนและเครือข่าย โรงเรียนห้วยกรดวิทยา ได้รับความร่วมมือในการสนับสนุน ในด้านบุคลากร งบประมาณวัสดุอุปกรณ์ และการจัดการ โดยเฉพาะแหล่งเรียนรู้ในชุมชนสนับสนุน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ผลลัพธ์ที่เกิดกับโรงเรียนและการเผยแพร่ ผลการศึกษาด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนพบว่า ผู้เรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.53, S.D. = .60) และ ผลการศึกษาทัศนคติต่อการเรียนของผู้เรียน พบว่าผู้เรียนมีทัศนคติต่อการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับมากที่สุด

    (x ̅ = 4.61 , S.D. = .58) แสดงให้เห็นว่า การจัดการเรียนรู้เชิงรุกทำให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งมีหลักการคือ เป็นกระบวนการสร้างความรู้โดยผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้เองเป็นการเรียนรู้ที่อาศัยประสบการณ์เดิมของผู้เรียน ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ผู้เรียนสามารถกำหนดหลักการที่ได้จากการปฏิบัติและสามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีหรือหลักการได้อย่างถูกต้อง

    ดาวน์โหลดไฟล์

  • การจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning วิชาประวัติศาสตร์ที่บูรณาการบนพื้นฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นห้วยกรด ด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงประวัติศาสตร์

    การจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning วิชาประวัติศาสตร์ที่บูรณาการบนพื้นฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นห้วยกรด ด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงประวัติศาสตร์

    สุเมธ ราชประชุม และชัยณรงค์ เขียวแก้ว1

    1* โรงเรียนห้วยกรดวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท  จังหวัดชัยนาท
     * E-mail : huaikrot@huaikrot.ac.th

    บทสรุป

    โรงเรียนห้วยกรดวิทยา ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท มีรูปแบบการบริหารจัดการเชิงคุณภาพในการขับเคลื่อนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผ่านแนวคิดการบูรณาการบนพื้นฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นห้วยกรด ด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) โดยเน้นให้ท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ อีกทั้งยังมีการปรับใช้สื่อการเรียนรู้ที่เหมาะกับยุคสมัยและการใช้แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น จัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ผู้เรียนมีส่วนร่วมในชั้นเรียน สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูผู้สอนกับผู้เรียน มุ่งให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติ (หน่วยศึกษานิเทศก์ สพฐ., 2562) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการคิด มีการบริหารจัดการหลักสูตรโรงเรียนในเชิงของการ

    บูรณาการในทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้โดยใช้ประวัติศาสตร์เป็นบริบท (Contexts) และบูรณาการประวัติศาสตร์กับหน้าที่พลเมือง ศีลธรรม โดยจัดทำหน่วยการเรียนรู้เรื่อง เล่าขานตำนานห้วยกรด โดยนำประวัติศาสตร์ตำบลห้วยกรดมาเล่าเรื่องผ่านวิธีการทางประวัติศาสตร์ เพื่อพัฒนาผู้เรียน ทำให้การเรียนรู้ประวัติศาสตร์เป็นไปด้วยความสนุกสนาน มีความหมายและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, 2566)

    การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การตัดสินใจเลือกบทเรียนที่ต้องการเรียนรู้ในลักษณะกลุ่ม หรือศึกษาด้วยตนเอง ผู้เรียนจะร่วมกันจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกขั้นตอน ฝึกปฏิบัติการวางแผนการทำกิจกรรม การเรียนรู้ร่วมกัน และเกิดชิ้นงานผลการเรียนรู้ (พัศดา จิราสิทธิ์, 2555) มีขั้นตอนดังนี้ (1) กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ในการเรียนรู้ โดยศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น เช่น ประวัติตำบลห้วยกรด ประวัติวัดต่าง ๆ ตำนานวัดแม่มาหาลูก เป็นต้น ในพื้นที่ตำบลห้วยกรด (2) จัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนได้แสดงออกด้วยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ (3) สร้างความเข้าใจของผู้เรียนเองโดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากผลของการสะท้อนความคิดและอภิปรายเพื่อนำไปสู่การเกิดความคิดรวบยอดให้เป็นความรู้ของตนเอง และ (4) นำผลจากขั้นความคิดรวบยอดที่เกิดขึ้นใหม่ไปประยุกต์ใช้ในลักษณะหรือสถานการณ์ต่างๆ สร้างสรรค์เป็นชิ้นงานเพื่อนำเสนอเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น

    ผลจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning วิชาประวัติศาสตร์ที่บูรณาการบนพื้นฐานวัฒนธรรมท้องถิ่นห้วยกรด ด้วยการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อส่งเสริมการคิดเชิงประวัติศาสตร์ ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้และเข้าใจในองค์ความรู้ได้ง่ายขึ้น เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คิด และเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย พร้อมทั้งการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้นอกห้องเรียน โดยจัดทำเป็นหน่วยบูรณาการการเรียนรู้ เรื่องเล่าขานตำนานห้วยกรด ซึ่งเป็นการบูรณาการร่วมกันในทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มีการรวบตัวชี้วัดที่ซ้ำซ้อน บูรณาการการวัดและประเมินผล เป็นการลดเวลา ลดภาระของทั้งครูและผู้เรียน จนสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานของตนเอง และนำไปต่อยอดในชีวิตได้ สอดคล้องกับเป้าหมายของหลักสูตร ได้แก่ มาตรฐานตัวชี้วัด คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

    ดาวน์โหลดไฟล์

  • การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนทุ่งโพวิทยา

    การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนทุ่งโพวิทยา

    ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู เพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนทุ่งโพวิทยา

    ผู้วิจัย นางสาวสุภาพร ธะนะแสง

    ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2563