การจัดการเรียนรู้เชิงรุก พัฒนาศตวรรษที่ 21 ด้วย STEAM Design Process เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก พัฒนาศตวรรษที่ 21 ด้วย STEAM Design Process เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG

สุเมธ ราชประชุม น้ำฝน อินทร์แสง และ นพวรรณ ท่าเจ็ง1*

1* โรงเรียนห้วยกรดวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุทัยธานี ชัยนาท  จังหวัดชัยนาท
 *
E-mail : huaikrot@huaikrot.ac.th

บทสรุป

          โรงเรียนห้วยกรดวิทยา ตั้งอยู่ในพื้นที่ตำบลห้วยกรด อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท มีรูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พัฒนาศตวรรษที่ 21 ด้วย STEAM Design Process  เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นกระบวนการที่มุ่งส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริงและการทำงาน โดยมีกรบูรณาการองค์ความรู้ 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ หรือที่เรียกว่า สะเต็มศึกษา (STEM Education) และเพิ่มศิลปะ (Art) เพื่อช่วยให้เกิดการพัฒนาสมองทั้ง 2 ซีก (มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม, 2564) เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG มุ่งเน้นการอนุรักษ์ ฟื้นฟู จัดการ สู่การสร้าง Value Creation โดยเริ่มขับเคลื่อนการพัฒนาการจัดการเรียนรู้มีการสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานจากภายนอก

          โรงเรียนห้วยกรดวิทยามีการบริหารจัดการโรงเรียนเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พัฒนาศตวรรษที่ 21 ด้วย STEAM Design Process  เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG  ใช้รูปแบบการดำเนินงาน HKWS Model ในด้านการบริหารชุมชนและเครือข่าย เนื่องจากโรงเรียนห้วยกรดวิทยา เป็นโรงเรียนประจำตำบล ตั้งอยู่ในชุมชน มีการสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน โดยจัดทำข้อมูลพื้นฐานและสภาพแวดล้อมของชุมชนและภาคีเครือข่าย ให้บริการแก่ชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนประสานและขอรับการสนับสนุนด้านต่าง ๆ จากชุมชน รวมทั้งประเมินผลตามความต้องการและความพึงพอใจของชุมชนเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการแบบร่วมมือในการบริหารโรงเรียนด้วยเครือข่ายที่ยั่งยืนต่อไป

ผลจากการจัดการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พัฒนาศตวรรษที่ 21 ด้วย STEAM Design Process เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG ทำให้โรงเรียนมีนวัตกรรมในการยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พัฒนาระบบการบริหารจัดการที่มีคุณภาพ การใช้กระบวนการ AAR และ PLC ในการส่งเสริมกระบวนการ STEAM Design Process และทักษะสำคัญในศตวรรษที่ 21 บูรณาการการจัดการเรียนรู้และการวัดและประเมินผล เป็นการลดเวลา ลดภาระของทั้งครูและผู้เรียน จนสามารถสร้างสรรค์ชิ้นงานของตนเอง และนำไปต่อยอดในชีวิตได้ สอดคล้องกับเป้าหมายของหลักสูตร ได้แก่ มาตรฐานตัวชี้วัด คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน ส่งผลให้โรงเรียน ผู้บริหาร ครูและนักเรียนได้รับรางวัลที่ภาคภูมิใจจากการดำเนินงานทั้งในระดับจังหวัด ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ

ผลการดำเนินงาน

การจัดการเรียนรู้เชิงรุก พัฒนาศตวรรษที่ 21 ด้วย STEAM Design Process เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG โดยใช้รูปแบบ HKWS Model เป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ที่เน้น การจัดกระบวนการเชิงรุก Active Learning ตาม 7 หลักการสำคัญ ส่งผลให้ผู้เรียนมีความสุข เกิดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีการคิดขั้นสูง มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีทักษะชีวิตและการทำงาน ครูผู้สอนมีการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดกิจกรรม เน้น Active Learning ได้แก่ คิด ร่วมมือ และเผยแพร่ (Think-pair-share) มากขึ้น ดังนี้

ด้านการบริหารจัดการโรงเรียน โรงเรียนมีแนวทางในการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พัฒนาศตวรรษที่ 21 ด้วย STEAM Design Process เพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นต้นแบบในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในปีถัดไป และเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมสำหรับสถานศึกษาอื่น ๆ

ด้านการบริหารชุมชนและเครือข่าย โรงเรียนห้วยกรดวิทยา ได้รับความร่วมมือในการสนับสนุน ในด้านบุคลากร งบประมาณวัสดุอุปกรณ์ และการจัดการ โดยเฉพาะแหล่งเรียนรู้ในชุมชนสนับสนุน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี ผลลัพธ์ที่เกิดกับโรงเรียนและการเผยแพร่ ผลการศึกษาด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนพบว่า ผู้เรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด (x ̅ = 4.53, S.D. = .60) และ ผลการศึกษาทัศนคติต่อการเรียนของผู้เรียน พบว่าผู้เรียนมีทัศนคติต่อการเรียนรู้เชิงรุกอยู่ในระดับมากที่สุด

(x ̅ = 4.61 , S.D. = .58) แสดงให้เห็นว่า การจัดการเรียนรู้เชิงรุกทำให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งมีหลักการคือ เป็นกระบวนการสร้างความรู้โดยผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้เองเป็นการเรียนรู้ที่อาศัยประสบการณ์เดิมของผู้เรียน ก่อให้เกิดความรู้ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง ผู้เรียนสามารถกำหนดหลักการที่ได้จากการปฏิบัติและสามารถประยุกต์ใช้ทฤษฎีหรือหลักการได้อย่างถูกต้อง

ดาวน์โหลดไฟล์